เว็บ สังคม เวทมนต์ Social web of Magical
1. ห้ามเผยแพร่ข้อความเนื้อหาที่ทำให้สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์เสื่อมเสีย ไม่ว่าจะเป็นทางข้อความ หรือทางภาพ
2. ห้ามเผยแพร่ข้อความและเนื้อหาที่เป็นการโฆษณาชวนเชื่อและหลอกลวง ไม่ว่าจะเป็นทางข้อความ หรือทางภาพ หากฝ่าฝืนจะผิดกฎหมายในข้อหาโฆษณาหลอกลวงประชาชน
3. ห้ามเผยแพร่ข้อความและเนื้อหาที่ทำให้ผู้อื่นนั้นเสียหาย รำคาญใจ หรือก่อเกิดความรู้สึกไม่ดีต่อผู้อื่น ไม่ว่าจะเกิดด้วยความตั้งใจหรือไม่
4. ห้ามเผยแพร่ข้อความที่ส่อเสียดหรือว่ากล่าวให้ร้ายแก่สมาชิกผู้อื่น ไม่ว่าข้อความนั้นจะมีว่าอย่างไร จะกล่าวถึงชื่อผู้อื่นหรือไม่
5. ห้ามเผยแพร่ข้อความที่ยุยงให้ผู้อื่นเกิดความขัดแย้งซึ่งกันและกัน ไม่ว่าผู้ตั้งกระทู้หรือผู้ตอบนั้นจะตั้งใจหรือไม่
6. ห้ามเผยแพร่ข้อความ รูปภาพ ที่ส่อไปในเรื่องเพศ ลามกอนาจาร หรือขัดต่อศีลธรรมอันดีของไทย
7. ห้ามเผยแพร่ข้อความที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่น หรือข้อความที่ซ้ำๆ ในกระทู้เดียวกันหรือหลายกระทู้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม เจตนาของผู้ตั้งกระทู้หรือผู้ตอบ และสถานการณ์ในกระทู้นั้น
8. ห้ามเผยแพร่ข้อความหรือกระทู้ที่ส่อให้เห็นถึงเจตนาในการพนันต่างๆ ไม่ว่าจะวิธีใดก็ตาม
9. ห้ามเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวของตนเองและของผู้อื่น ซึ่งสามารถสร้างความเสียหายให้กับบุคคลผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่สาม เช่นหมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขบัตรเครดิต ฯลฯ ไม่ว่าผู้เผยแพร่จะมีเจตนาหรือไม่
10. ขอสงวนสิทธิ์ไม่ให้บริการ Username บางคำที่เป็นของผู้ดูแลระบบ ได้แก่ "webmaster", "web editor", "hostmaster", "postmaster", "admin", "member(s)", "customer / customer service" หรือคำอื่นๆ ที่พิจารณาว่าไม่เหมาะสมสำหรับการใช้เป็น Username
11. สมาชิกจะต้องใช้นามแฝงที่เหมาะสม ไม่หยาบคาย หรือส่อไปในทางลามกอนาจาร มิฉะนั้นทีมงานมีสิทธิ์ ไม่ให้สิทธิ์การเป็นสมาชิกได้
12. ทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกความเป็นสมาชิกได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวให้ทราบล่วงหน้า
13. ทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการหยุดให้บริการ เมื่อใดก็ได้ โดยไม่ต้องแจ้งให้สมาชิกทราบล่วงหน้า
14. ทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ และความคิดเห็นใน Webboard โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า


Join the forum, it's quick and easy

เว็บ สังคม เวทมนต์ Social web of Magical
1. ห้ามเผยแพร่ข้อความเนื้อหาที่ทำให้สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์เสื่อมเสีย ไม่ว่าจะเป็นทางข้อความ หรือทางภาพ
2. ห้ามเผยแพร่ข้อความและเนื้อหาที่เป็นการโฆษณาชวนเชื่อและหลอกลวง ไม่ว่าจะเป็นทางข้อความ หรือทางภาพ หากฝ่าฝืนจะผิดกฎหมายในข้อหาโฆษณาหลอกลวงประชาชน
3. ห้ามเผยแพร่ข้อความและเนื้อหาที่ทำให้ผู้อื่นนั้นเสียหาย รำคาญใจ หรือก่อเกิดความรู้สึกไม่ดีต่อผู้อื่น ไม่ว่าจะเกิดด้วยความตั้งใจหรือไม่
4. ห้ามเผยแพร่ข้อความที่ส่อเสียดหรือว่ากล่าวให้ร้ายแก่สมาชิกผู้อื่น ไม่ว่าข้อความนั้นจะมีว่าอย่างไร จะกล่าวถึงชื่อผู้อื่นหรือไม่
5. ห้ามเผยแพร่ข้อความที่ยุยงให้ผู้อื่นเกิดความขัดแย้งซึ่งกันและกัน ไม่ว่าผู้ตั้งกระทู้หรือผู้ตอบนั้นจะตั้งใจหรือไม่
6. ห้ามเผยแพร่ข้อความ รูปภาพ ที่ส่อไปในเรื่องเพศ ลามกอนาจาร หรือขัดต่อศีลธรรมอันดีของไทย
7. ห้ามเผยแพร่ข้อความที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่น หรือข้อความที่ซ้ำๆ ในกระทู้เดียวกันหรือหลายกระทู้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม เจตนาของผู้ตั้งกระทู้หรือผู้ตอบ และสถานการณ์ในกระทู้นั้น
8. ห้ามเผยแพร่ข้อความหรือกระทู้ที่ส่อให้เห็นถึงเจตนาในการพนันต่างๆ ไม่ว่าจะวิธีใดก็ตาม
9. ห้ามเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวของตนเองและของผู้อื่น ซึ่งสามารถสร้างความเสียหายให้กับบุคคลผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่สาม เช่นหมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขบัตรเครดิต ฯลฯ ไม่ว่าผู้เผยแพร่จะมีเจตนาหรือไม่
10. ขอสงวนสิทธิ์ไม่ให้บริการ Username บางคำที่เป็นของผู้ดูแลระบบ ได้แก่ "webmaster", "web editor", "hostmaster", "postmaster", "admin", "member(s)", "customer / customer service" หรือคำอื่นๆ ที่พิจารณาว่าไม่เหมาะสมสำหรับการใช้เป็น Username
11. สมาชิกจะต้องใช้นามแฝงที่เหมาะสม ไม่หยาบคาย หรือส่อไปในทางลามกอนาจาร มิฉะนั้นทีมงานมีสิทธิ์ ไม่ให้สิทธิ์การเป็นสมาชิกได้
12. ทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการยกเลิกความเป็นสมาชิกได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวให้ทราบล่วงหน้า
13. ทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการหยุดให้บริการ เมื่อใดก็ได้ โดยไม่ต้องแจ้งให้สมาชิกทราบล่วงหน้า
14. ทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ และความคิดเห็นใน Webboard โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
เว็บ สังคม เวทมนต์ Social web of Magical
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
Channel 5
~Video Live~
Click

พันธมิตร(เพื่อนบ้าน)






April 2024
SunMonTueWedThuFriSat
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    

Calendar Calendar

Visitors คนเข้ามาดู
Flag Counter

[ความรู้]อาเซียน (ASEAN)

Go down

[ความรู้]อาเซียน (ASEAN)    Empty [ความรู้]อาเซียน (ASEAN)

ตั้งหัวข้อ by mckung Fri Sep 06, 2013 8:34 pm

ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน (Association of Southeast Asian Nations – ASEAN) คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ได้ร่วมลงนามในเอกสารก่อตั้งอาเซียน ที่เรียกว่า ปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ปี พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) ที่กรุงเทพฯ และยังคงมีบทบาทในอาเซียนอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อสร้างสรรค์ให้ภูมิภาคนี้เป็นดินแดนที่มีความมั่นคง สงบสุข ก้าวหน้าและพัฒนาตลอดไป

ด้านการเมือง นอกจากไทยจะมีบทบาทนำในการอาศัยกรอบความร่วมมืออาเซียนเพื่อแก้ไขปัญหาในภูมิภาคและธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความสงบสุขของภูมิภาคแล้วในปัจจุบันไทยยังได้ร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ๆ ในการพยายามส่งเสริมและปรับปรุงทบทวนกลไกความร่วมมือของอาเซียนให้เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นด้วย เพื่อปรับแนวทางการดำเนินนโยบายของตนให้สอดคล้องและเหมาะสมกับพัฒนาการทางการเมืองและเศรษฐกิจของโลก

ไทยได้มีบทบาทในกิจกรรมความร่วมมือด้านการเมืองที่สำคัญของอาเซียนตลอดมา ได้แก่ การแก้ไขปัญหากัมพูชาและการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคอินโดจีน การประกาศให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตสันติภาพ เสรีภาพ และความเป็นกลาง (Zone of Peace, Freedom and Neutrality) ในปี พ.ศ. 2514 การผลักดันให้มีการลงนามในสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation) ในปี พ.ศ. 2519 การเป็นผู้ริเริ่มสำคัญในการจัดให้มีการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือทางด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ASEAN Regional Forum – ARF) และการลงนามในสนธิสัญญาว่าด้วยเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Nuclear Weapons Free Zone – SEANWFZ) ซึ่งดำเนินการในระหว่างการประชุมผู้นำรัฐบาลอาเซียน ครั้งที่ 5 ที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนธันวาคม 2538

นอกจากนี้ ไทยก็ยังมีบทบาทนำในการผลักดันมติของที่ประชุมสุดยอดอาเซียนดังกล่าว ให้เร่งดำเนินการขยายสมาชิกภาพอาเซียนให้ครอบคลุมทั้ง 10 ประเทศ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งในที่สุดได้นำไปสู่มติของที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน สมัยพิเศษ ณ กรุงจาร์กาตา เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2540 ให้รับกัมพูชา ลาว และพม่า เข้าเป็นสมาชิกอาเซียนพร้อมกัน ในช่วงการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน (AMM) สมัยที่ 30 ณ กรุงจาร์กาตา ในวันที่ 3 เดือนกรกฎาคม 2543

แต่เนื่องจากปัญหาความไม่สงบภายในประเทศกัมพูชา ที่ประชุมฯ จึงมีมติให้ระงับการเข้าเป็นสมาชิกของกัมพูชาไว้ชั่วคราวก่อน แต่อย่างไรก็ตามหลังจากที่ปัญหาดังกล่าวได้ยุติลงอาเซียนได้รับกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกประเทศที่ 10 โดยจัดพิธีรับขึ้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542 ณ กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

ด้านเศรษฐกิจ ไทยมีบทบาทนำอย่างสม่ำเสมอในการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน เพื่อเสริมสร้างความมั่งคั่งและความสงบสุขของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการประชุมครั้งสำคัญต่าง ๆ ของอาเซียน ไทยและประเทศสมาชิกอาเซียนได้ร่วมลงนามในความตกลงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจหลายฉบับ ซึ่งสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของอาเซียนโดยรวมและของไทยเอง อาทิ ปฏิญญาสมานฉันท์แห่งอาเซียน (Declaration of ASEAN Concord) ปี พ.ศ. 2519 ซึ่งช่วยส่งเสริมการค้าระหว่างสมาชิกอาเซียนและส่งเสริมอุตสาหกรรมการลงทุนหรือสนธิสัญญาว่าด้วยสิทธิพิเศษทางการค้าของอาเซียน (Preferential Trading Arrangement – PTA) ในปี พ.ศ. 2520 ซึ่งให้สิทธิพิเศษทางการค้าด้วยการลดหย่อนอัตราภาษีศุลกากร

นอกจากนี้ ในการประชุมผู้นำรัฐบาลอาเซียน ครั้งที่ 4 ณ สิงคโปร์ เมื่อปี พ.ศ. 2535 อาเซียนเห็นชอบกับแนวคิดของนายอานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรีไทยในขณะนั้น ซึ่งเสนอให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area – AFTA) ขึ้นเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในฐานะที่เป็นฐานการผลิตสำคัญในการป้อนสินค้าสู่ตลาดโลก นับเป็นพัฒนาการของความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนที่สำคัญ ซึ่งนำไปสู่การจัดทำความตกลงแม่บทว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน พ.ศ. 2535 (Framework Agreement on Enhancing ASEAN Economic Cooperation 1992) โดยตกลงในหลักการเพื่อลดอัตราภาษีศุลกากรสำหรับสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตรแปรรูปที่ค้าขายระหว่างกัน ให้มีอัตราภาษีต่ำสุดภายในระยะเวลา 15 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2536

ซึ่งในเรื่องดังกล่าว ต่อมาที่ประชุมผู้นำรัฐบาลอาเซียน ครั้งที่ 5 ที่กรุงเทพฯ มีมติให้เร่งกำหนดเวลาการลดอัตราภาษีศุลกากรขั้นต่ำสุดดังกล่าวให้เร็วขึ้นเป็นภายใน 10 ปี กล่าวคือ พยายามลดภาษีสุดท้ายให้เหลือร้อยละ 0-5 % ภายในปี 2546 ซึ่งไทยเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกอาเซียนทีพยายามดำเนินการตามพันธกรณีของ AFTA อย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ ก็ยังได้มีมติและเอกสารสำคัญเกี่ยวกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียนในหลายเรื่องที่เกิดขึ้นในการประชุมผู้นำรัฐบาลอาเซียน ครั้งที่ 5 ที่กรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) อาทิ การเห็นชอบให้จัดทำโครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน (ASEAN Industrial Cooperation (AICO) Scheme) ขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมืออาเซียนในด้านอุตสาหกรรม การลงนามในพิธีสารแก้ไขความตกลงว่าด้วยการพลังงานของอาเซียน โดยรัฐมนตรีต่างประเทศและเศรษฐกิจของอาเซียน การลงนามในกรอบความตกลงแม่บทว่าด้วยการบริการของอาเซียนและกรอบความตกลงแม่บทว่าด้วยความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญาของอาเซียน เป็นต้น

ต่อมาในการประชุมอย่างไม่เป็นทางการของผู้นำรัฐบาลอาเซียน ครั้งที่ 1 ณ กรุงจาร์กาตา เมื่อปี พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) ไทยก็ได้มีส่วนผลักดันมติสำคัญต่าง ๆ ในเรื่องเศรษฐกิจ ได้แก่ การจัดทำวิสัยทัศน์อาเซียน (ASEAN Vision) ให้ครอบคลุมความร่วมมือด้านการเมืองและสังคมของอาเซียน การเร่งรัดการจัดทำความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกสินค้าผ่านแดน ซึ่งต่อมาในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 6 เมื่อเดือนธันวาคม 2541 ที่กรุงฮานอย ได้มีการลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน (ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Goods in Transit) และปัจจุบันไทยยังเป็นประธานคณะทำงานด้านการอำนวยความสะดวกการคมนาคมขนส่งอาเซียน

นอกจากนี้ ไทยยังให้ความสำคัญกับความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มน้ำโขงในส่วนของโครงสร้างขั้นพื้นฐานในระดับภูมิภาค อนุภูมิภาค และการพัฒนาระบบการคมนาคม ตลอดจนระดมเงินทุนจากประเทศภายนอกภูมิภาค องค์การระหว่างประเทศและภาคเอกชน นอกจากไทยจะมีบทบาทที่สร้างสรรค์ต่อมติและความตกลงด้านเศรษฐกิจที่สำคัญต่าง ๆ ของอาเซียนแล้ว การที่ไทยสนับสนุน ดร. สุทัศน์ เศรษฐ์บุญสร้าง บุคคลสัญชาติไทย ซึ่งเชี่ยวชาญเรื่อง AFTA เข้าดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการอาเซียน ตั้งแต่ 1 มิ.ย. พ.ศ. 2510 – 31 พ.ศ. 2542 ซึ่งดูแลรับผิดชอบงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน ก็ยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจจริงในการมีบทบาทอย่างแข็งขันของไทยต่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนในระดับหนึ่งด้วย

ด้านสังคม ไทยมีบทบาทอย่างแข็งขันในการส่งเสริมความร่วมมือและประสานความสัมพันธ์อันดีที่มีอยู่ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเน้นความร่วมมือในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ได้รับการศึกษา การอบรม มีสุขภาพสมบูรณ์และมีฐานะที่มั่นคง เพื่อให้ประชาชนชาวอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีทัดเทียมกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งความร่วมมือด้านสังคมของอาเซียนประกอบด้วย การพัฒนาสังคม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วัฒนธรรมและสนเทศ สิ่งแวดล้อม และยาเสพติด ไทยได้มีส่วนร่วมที่สำคัญต่อพัฒนาการความร่วมมือด้านนี้ของอาเซียน โดยได้ผลักดันโครงการที่สำคัญหลายโครงการ อาทิ การริเริ่มจัดตั้งเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network) เพื่อประโยชน์ในด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้านการศึกษาและการดำเนินกิจกรรมด้านการศึกษาระดับสูง โดยมีสำนักงานอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ การจัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเพื่อแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ ฯลฯ

อีกทั้งยังได้มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการเป็นศูนย์อบรมเจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติดของอาเซียน และการผลักดันให้อาเซียนยกระดับแรงงานของตน โดยการดำเนินโครงการด้านการพัฒนาทักษะแรงงานของอาเซียนให้สามารถรองรับความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศสมาชิกส่วนใหญ่ ตลอดจนผลักดันให้อาเซียนเห็นพ้องร่วมกันว่าไม่ควรเชื่อมโยงเรื่องมาตรฐานแรงงานเข้ากับการค้าระหว่างประเทศตามความประสงค์ของประเทศพัฒนาแล้ว นอกจากนี้

ไทยยังมีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งต่อพัฒนาการความร่วมมือด้านสังคมของอาเซียน โดยอาจกล่าวได้ว่าการประชุมผู้นำรัฐบาลอาเซียน ครั้งที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2538 ที่กรุงเทพฯ เป็นจุดเริ่มต้นของมิติใหม่ในการพัฒนาดังกล่าว เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่ผู้นำอาเซียนแสดงเจตน์จำนงให้มีการยกระดับความร่วมมือด้านการพัฒนาสังคมให้ทัดเทียมกับความร่วมมือด้านการเมืองและเศรษฐกิจของอาเซียนโดยได้ระบุไว้ใน “ปฏิญญากรุงเทพ ปี ค.ศ. 1995” และมีแนวทางการดำเนินการคือ ความไพบูลย์ร่วมกันในการพัฒนามนุษย์ ความสามารถในการแข่งขันด้านเทคโนโลยีและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

ซึ่งสืบเนื่องจากแนวคิดนี้ ต่อมาที่ประชุมอย่างไม่เป็นทางการของผู้นำรัฐบาลอาเซียน ครั้งที่ 1 ได้เห็นชอบให้จัดตั้งมูลนิธิอาเซียนขึ้น เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการศึกษาและการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมของอาเซียน ซึ่งจะเสริมสร้างจิตสำนึกในความเป็นอาเซียนและขยายการติดต่อ การไปมาหาสู่กัน แนวคิดการจัดตั้งมูลนิธิอาเซียนดังกล่าว ส่วนหนึ่งพัฒนามาจากข้อเสนอจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาสังคมของนายอำนวย วีรวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้น และได้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว

*** อ้างอิง : กระทรวงพานิชย์.2545
mckung
mckung
พ่อมดระดับ2
พ่อมดระดับ2

จำนวนข้อความ : 430
Join date : 17/04/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ